ถ้าหากคุณใช้น้ำมันกันสนิมเพื่อป้องกันการเกิดสนิมโลหะระหว่างการขนส่ง คุณรู้หรือไม่ว่าความหนาของชั้นน้ำมันที่เคลือบผิวโลหะไม่มีผลการันตีการป้องกันสนิมได้ การทำงานของน้ำมันกันสนิมจะให้ผลการปกป้องที่ดีก็ต่อเมื่อน้ำมันสามารถเคลือบบนทุกอณูของชิ้นโลหะ โดยเฉพาะในรอยแตก รอยแยก หรือแม้แต่จุดซอกซอนต่างๆ
เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจหากคุณคิดที่จะเปลี่ยนจากการใช้งานน้ำมันกันสนิมมาเป็นวิธีการป้องกันสนิมโดยยึดหลักการการระเหยของสารเคมี (Vapor Corrosion Inhibitor, VCI) ต่อไปนี้คือเหตุผลที่ทำให้หลายๆอุตสาหกรรมเลือกใช้ VCI เพื่อการป้องกันสนิม
ข้อดีของ VCI
- สะดวก รวดเร็ว ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน
- เทคโนโลยี VCI นำมาปรับใช้เพื่อผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ได้
- กระบวนการทำงานของสาร VCI เกิดขึ้นรวดเร็วและอิ่มตัวภายใต้เงื่อนไขของสภาพแวดล้อมแบบปิด
- ไม่มีสารพิษที่เป็นอันตรายกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
- เหมาะสำหรับการจัดเก็บชิ้นส่วนโลหะทั้งแบบระยะสั้นและระยะยาว
- ปลอดภัยแม้ใช้งานร่วมกับวัสดุอื่นๆ อาทิเช่น ไวนิล พลาสติก หรือยาง
- เนื่องจากสาร VCI สามารถระเหยและหลุดจากผิวโลหะได้เอง จึงง่ายในการทำความสะอาดและสะดวกสำหรับชิ้นงานโลหะที่ต้องเข้าสู่กระบวนการแปรรูปอื่นต่อไป
ข้อเสีย:
- บางสถานการณ์จำเป็นต้องผนวกการใช้บรรจุภัณฑ์กันสนิม VCI หลายๆวิธี
- ประสิทธิภาพลดลงถ้ามีการรั่วไหลของน้ำเข้าบรรจุภัณฑ์
- ไม่สามารถลดการเกิดสนิมได้ ถ้าโลหะนั้นมีสนิมอยู่แล้ว
จากที่ข้อมูลข้างต้นพบว่าเทคโนโลยี VCI มีคุณประโยชน์มากกว่าผลเสีย แต่ถึงอย่างไรการจดจำผลเสียหรือข้อจำกัดการใช้งานของ VCI ยังคงมีความสำคัญเนื่องจากข้อจำกัดเหล่านี้เป็นข้อมูลสำคัญที่จะทำให้คุณตัดสินใจเลือกใช้บรรจุภัณฑ์หรือวิธีการป้องกันสนิมที่เหมาะสมที่สุด
ความสำเร็จของการเลือกบรรจุภัณฑ์สำหรับชิ้นส่วนโลหะขึ้นอยู่กับชิ้นส่วนโลหะนั้นๆ ว่าปราศจากการกัดกร่อนหรือคราบสนิมก่อนการบรรจุลงในบรรจุภัณฑ์หรือไม่ หากการผลิตโลหะถูกขยายเวลาออกไป มีความเสี่ยงที่จะเกิดสนิมในกลุ่มวัตถุดิบจำพวกเหล็ก ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเลือกวิธีการป้องกันการเกิดสนิมที่มีประสิทธิภาพ สะดวกในการใช้ง่าย ง่ายสำหรับการทำความสะอาดและกำจัดสารป้องกันสนิมนั้นๆ จากชิ้นส่วนโลหะที่ถูกจัดเก็บ ซึ่งคำตอบที่ดีที่สุดคือการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ประเภท VCI